อินเตอร์เน็ตเบื้องต้นและบริการบนอินเตอร์เน็ต
ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตช่วงปีคริสต์ศตวรรษ 1960 (ประมาณปี 2503) ซึ่งเป็นยุคสงครามเย็น ระหว่าง สหรัฐกับโซเวียต มีความเสี่ยงทางการทหาร และ ความเป็นไปได้ ที่จะถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือ นิวเคลียร์ การทำลายล้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูลอาจทำให้ เกิดปัญหาทางการรบ และในช่วงนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ มีมากมายหลากแบบ นับเป็นอุปสรรคสำคัญ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และโปรแกรมกันได้โดยสะดวก จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถ เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้
รัฐบาลสหรัฐ จึงเริ่มต้นโครงการ อาร์พาเน็ต (ARPA net) เมื่อปี 2509 (1966) ดูแลโดย หน่วยงานวิจัยชั้นสูงของสหรัฐ (ARPA: The Advanced Research Projects Agency ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น DARPA: Defense Advanced Research Projects Agency ในปี 2514 (1971) แล้วเปลี่ยนกลับเป็น ARPA ในปี 2536 (1993) และล่าสุดเปลี่ยนกลับเป็น DARPA ในปี 2539 (1996)) ในสังกัด กระทรวงกลาโหม เพื่อให้คอมพิวเตอร์รู้จัก ค้นหาเส้นทางเชื่อมโยง และส่งข้อมูลโดยอัตโนมัติ (dynamic routing)ในกรณี
ที่เครือข่ายบางจุดถูกทำลาย หรือเกิดความเสียหาย เครือข่ายที่เชื่อมโยงอยู่ในระบบที่เหลือ จะต้องทำงานได้สำเร็จลุล่วงต่อไปได้
จุดเริ่มของ อาร์พาเน็ต ได้ทำการทดลองต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์ จาก 4 แห่ง ช่วงเดือนกันยายน 2512 (1969) เริ่มต้นจากมหาวิทยาลัย ลอสแองเจอลิส (UCLA) กับ สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด (SRI) ทั้งสองแห่งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และเพิ่มอีกสองแห่ง คือ มหาวิทยาลัยซานตาบาร์บารา (UCSB) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย, และมหาวิทยาลัยแห่งรัฐยูท่าห์ (
แนวคิดเบื้องต้นของวิธีการส่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต เกิดจากพัฒนาการของ "โปรโตคอล (Protocol) " ซึ่งหมายถึง มาตรฐานกลางของการเชื่อมโยง คอมพิวเตอร์หลากหลายระบบ รวมถึงวิธีการส่งข้อมูล และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ โปรโตคอลเหล่านี้ มีพัฒนาการมาเป็นลำดับ ตั้งแต่ NCP (Network Control Protocol) และล่าสุดเป็น TCP/IP (Transmission
Control Protocol / Internet Protocol)
จากเครือข่ายแวน (wide-area computer network) ระบบแรกที่เกิดในปี 2508 (1965) เป็นการต่อ คอมพิวเตอร์ TX-2 ในแมสซาจูเส็ท เข้าไป ควบคุมเรียกใช้งาน คอมพิวเตอร์ Q-32 ในแคลิฟอร์เนีย เชื่อมต่อกันด้วยระบบเซอร์กิตสวิชชิ่ง ผ่านสายโทรศัพท์ ความเร็วต่ำ (dial-up telephone line) ซึ่งมีความเร็วไม่เพียงพอทำให้ต้องพัฒนาเทคโนโลยี ใหม่ที่สำคัญยิ่ง ขึ้นมาทดแทน ช่วยให้คอมพิวเตอร์ต่างระบบคุยกันรู้เรื่องคือ "แพ็คเก็จ สวิชชิ่ง" (packet switching)
กลายมาเป็นความแพร่หลายของ ระบบเครือข่ายท้องถิ่นหรือแลน (LAN: Local Area Network) คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC)และ เวิร์คเตชั่น (workstation) ส่งผลให้เกิด เทคโนโลยี อีเธอร์เน็ต (Ethernet technology) ในปี 2516 (1973) ทำให้ระบบเครือข่ายขยายขนาดใหญ่มากขึ้น ซึ่งมีการแบ่งขนาดของระบบเป็น คลาส (Class) ต่างๆ และใช้ระบบหมายเลขไอพี (IP) แทนเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น 255.255.0.0 แต่เนื่องจากไม่เพียงพอต่อการให้บริการ ทำให้เกิดการประดิษฐ์คิดค้นระบบ โดเมนเนม (DNS: Domain Name System) ขึ้น โดยพอล มอคคาเพทริส (Paul Mockapetris แห่ง USC/ISI) เช่น www.cisco.com และทำให้ระบบอินเตอร์เน็ต ขยายใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ
จวบจนกระทั่งปี 2528 (1985) ระบบอินเตอร์เน็ต ถือเป็นเทคโนโลยีที่ฮอทฮิต สมบูรณ์พร้อมรองรับการใช้งานด้านการสื่อสาร แพร่ขยายไปในวงกว้าง ทั้งนักวิจัย นักพัฒนา และบุคคลทั่วไป
ในประเทศไทย การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี 2535 โดยมีจุดเชื่อมต่อ 2 แห่ง คือ จากศูนย์เทคโนโลยีและอีเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ หรือ NECTEC และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปัจจุบันมีคนรู้จักและใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเตอร์เน็ตขยายจากอาจารย์ และนิสิตนักศึกษาในระอับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยทางกายภาพ คือคอมพิวเตอร์จำนวนมหาศาล ต่างระบบ เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน แต่สิ่งที่สัญจรไปในอินเตอร์เน็ต เปรียบได้กับ เลือดที่หล่อเลี้ยงร่างอินเตอร์เน็ตนั้น ซึ่งก็คือ ข้อมูลชนิดต่างๆ ที่เรียกผ่าน บริการพื้นฐานของอินเตอร์เน็ต
ความหมายของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต (Internet) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่เชื่อมโยงเครือข่ายทั่วโลกเข้าด้วยกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไซเบอร์สเปซ “Cyberspace“คำเต็มของอินเตอร์เน็ตคือ อินเตอร์เน็ตเวิร์คกิ้ง (Internet Working) ต่อมานิยมเรียกสั้น ๆว่า อินเตอร์เน็ต หรือ เน็ต
บริการบนอินเตอร์เน็ต
การที่มีระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยัง อีกที่หนึ่ง โดยไม่จำกัดระยะทางส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความ ภาพ ตัวหนังสือ ภาพและเสียง โดยอาศัยเครือข่าย โทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย หรือโทรศัพท์
1. บริการอีเมล์ (E-Mail : Electronic mail) หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ คือบริการการสื่อสาร บนอินเตอร์เน็ต ที่นิยมใช้กันมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง สะดวก ใช้ง่าย ประหยัด รวดเร็ว ใช้กับงานที่เป็นทางการก็ได้ ไม่เปลืองซอง กระดาษ แสตมป์ ไม่ต้องเดินหาตู้ส่งจดหมาย หรือไปรษณีย์ แนบไฟล์รูปเข้าไปได้ (รวมทั้งมีมนุษย์หัวใส แนบไฟล์ไวรัสได้ด้วย) ปัจจุบัน ยังสามารถใส่รูปแบบตัวหนังสือ สีสัน
จัดหน้าสวยงาม ด้วยรูปแบบ HTML หรือเวิลด์ไวด์เว็บ ก็ได้ อีกทั้งเวิลด์ไวด์เว็บก็พัฒนารูปแบบ ให้ส่งอีเมล์ได้ด้วย เช่น ฮอทเมล์ (Hotmail),ยาฮูเมล์ (Yahoo mail), ไทยเมล์ (Thai mail), เนทแอดเดรส (net address) ฯลฯ
จัดหน้าสวยงาม ด้วยรูปแบบ HTML หรือเวิลด์ไวด์เว็บ ก็ได้ อีกทั้งเวิลด์ไวด์เว็บก็พัฒนารูปแบบ ให้ส่งอีเมล์ได้ด้วย เช่น ฮอทเมล์ (Hotmail),ยาฮูเมล์ (Yahoo mail), ไทยเมล์ (Thai mail), เนทแอดเดรส (net address) ฯลฯ
รูปแบบที่อยู่ของอีเมล์ จะประกอบด้วย ชื่อ ตามติดด้วยเครื่องหมาย @ และโดเมนเนม เสมอ เช่น nicha_kr_2007@hotmail.com ซึ่งต้องติดต่อขอกับผู้ให้บริการ หรือเว็บมาสเตอร์ ให้จัดทำขึ้น โดยที่เราสามารถเลือกชื่อได้ (ถ้าไม่ซ้ำกับใคร)
2. บริการเทลเน็ต (Telnet) หรือการขอเข้าระบบจากระยะไกล ซึ่งเป็นบริการที่ให้เราสามารถเข้าไปใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องที่อยู่ไกลๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น ถ้าเราทำงานโดยใช้อินเตอร์เน็ตของโรงเรียน แล้วกลับไปที่บ้าน เรามีคอมพิวเตอร์และต่ออินเตอร์เน็ตไว้ เราก็สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียน มาทำที่บ้านได้ เสมือนกับเราทำงานที่โรงเรียนนั่นเอง3. บริการการถ่ายโอนข้อมูล (File Transfer Protocol หรือ FTP) คือบริการของระบบอินเตอร์เน็ต ให้เราสามารถค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภท ตัวหนังสือ รูปภาพ และเสียง
4. บริการการสืบค้นข้อมูล (Gopher, Archie, World Wide Web) คือการใช้อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข่าวสารต่าง ๆ เช่น การสืบค้นข้อมูลการท่องเที่ยว, การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับวันสำคัญ, บุคคลสำคัญ, เทศกาลต่างๆ เป็นต้นซึ่งเป็นวิธีการที่ง่ายและสะดวกมาก
5. บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (Usenet) เป็นการแลกข่าวสารความคิดเห็นของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วโลก สามารถมาพบปะกัน แสดงความคิดเห็นของตนเองโดยมีการจัดการผู้ใช้เป็นกลุ่มข่าว หรือนิวส์กรุ๊ป (News group) เช่น เรื่องหนังสือ เรื่อง การเลี้ยงสัตว์ เรื่องละคร เรื่องกีฬา ฯลฯ
6. บริการสื่อสารด้วยข้อความ (Chat, IRC) เป็นการพูดคุยระหว่างผู้ใช้อินเตอร์เน็ตโดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยม มากอีกวิธีหนึ่งในขณะนี้
7. บริการซื้อ-ขายสินค้าและบริการ (E-Commerce) เป็นการจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการ เช่น การซื้อ–ขาย หนังสือคอมพิวเตอร์ บริการการท่องเที่ยว ฯลฯ และปัจจุบันมีบริษัทใช้อินเตอร์เน็ตในการทำธุรกิจบริการลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งในปี 2540 ที่ผ่านมา การค้าขายบนอินเตอร์เน็ตมีมูลค่าสูงถึง 1 แสนล้านบาท8. บริการด้านความบันเทิง (Entertain) อินเตอร์เน็ตมีการบริการด้านความบันเทิง ในรูปแบบบริการต่าง ๆ มากมาย และหลากหลาย เช่น เกมส์ เพลง รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ เป็นต้น ซึ่งเราก็สามารถเลือกใช้บริการต่าง ๆเหล่านั้นเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง และจากทั่วทุกมุมโลกทั้งจากในประเทศและนอกประเทศ
9. บริการ E – Learning (Electronic Learning) คือบริการทางด้าน ICT (Information and Communication Technology) เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวก ในการจัดการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ และการอบรม ต่าง ๆ
10. บริการเวิลด์ไวด์เว็บ และเว็บบราวเซอร์ (World Wide Web) หรือเครือข่ายใยพิภพ เป็นบริการหนึ่งที่ทำให้อินเตอร์เน็ตร้อนแรงที่สุดในยุคนี้ และไม่มีใครเกิน บริการเวิลด์ไวด์เว็บ เป็นตัวสร้างภาพที่สวยสดงดงาม พร้อมสรรพด้วยข้อมูลหลากหลายประเภท อาทิเสียง ภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ นำเสนอรวมในหน้าเอกสารเดียวกัน
นอกจากนี้ยังมีบริการอื่นๆ ที่ทำได้บนระบบอินเตอร์เน็ต อีกมากมาย อาทิเช่น เวส (WAIS) , เวอโรนิก้า (Veronica) ฯลฯ
สรุปความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว (Global Network) ที่รวมผู้ใช้กว่า 60 ล้านคน เพื่อประกอบกิจกรรมหลากหลายตั้งแต่ การพูดคุย การสื่อสารข้อมูล การแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้ การค้าขายแบบอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาทางไกล ฯลฯ เมื่อครั้งที่อินเตอร์เน็ตถือกำเนิดขึ้นนั้น ไม่มีใครเคยคาดคิดว่ามันจะกลายมาเป็นเครือข่าย ที่มีบทบาทกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันจนถึงขนาดที่กำลังจะปฏิวัติวิธีการดำเนินชีวิตของประชากรโลกในศตวรรษหน้า กล่าว คือเมื่อ 20 ปีก่อน กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้มีมติด่วนให้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า ARPANET จุดมุ่งหมาย คือให้ เป็นเครือข่ายที่มีความเชื่อถือได้สูง สามารถที่จะทำงานได้แม้ภายหลังที่อเมริกาถูกถล่มโดยอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้นเทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมเครือข่าย ต้องมีความสามารถที่จะทำงานกับโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่เหลือจากการทำลายของอาวุธนิวเคลียร์ เช่น หากโครงข่ายโทรศัพท์ และ เคเบิลถูกทำลายในบางพื้นที่ เครือข่ายจะยังคงทำงานได้โดยการสลับมาใช้โครงข่ายอื่น เช่น โครงข่ายดาวเทียม หรือวิทยุเป็นต้น นอกจากนั้นเทคโนโลยีดังกล่าวต้องมีความสามารถในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างประเภท และต่างรุ่นที่มีอยู่ทั่วโลกไปตาม ฐานทัพต่าง ๆ ในครั้งนั้นการพัฒนาเครือข่าย ARPANET ได้กระทำร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหม กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งหน่วยงานสำคัญ ๆ เช่นองค์การ NASA ทำให้ ARPANET เริ่มเติบโต โดยเริ่มมีการใช้งานมากขึ้นสำหรับการศึกษาและการวิจัย ถึงแม้จะเริ่มมีการพัฒนาเครือข่ายอื่น ๆ เช่น DECNET และ BITNET ขึ้นมาเป็นคู่แข่ง แต่เพราะข้อดีของ ARPANET ที่เป็นระบบ เปิดที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP ทำให้ไม่จำกัดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือ โครงข่ายเชื่อม (Physical Links) แบบใดแบบหนึ่ง ทำให้มันเอาชนะคู่แข่งและกลายมาเป็นตัวเชื่อมเครือข่ายอื่น ๆ ที่เข้ากันไม่ได้ ให้สามารถคุยกันรู้เรื่อง ด้วยเหตุนี้ทำให้ ARPANETถูกพัฒนามาเป็นเครือข่ายของเครือข่าย หรือ อินเตอร์เน็ต (internet) ในที่สุด ข้อดีของการที่เป็นระบบเปิด คือ สามารถใช้ เทคโนโลยีการเชื่อมต่อได้หลายแบบทั้ง ไมโครเวฟ ดาวเทียม โทรศัพท์ เคเบิล ใยแก้วนำแสง หรือแม้แต่ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ และสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบใดก็ได้รวมทั้งยังบริหารง่ายคือผู้ใช้ออกค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนของตน ทำให้อินเตอร์เน็ตขยายตัวง่ายในขณะที่ความ ซับซ้อนของงานไม่เพิ่มขึ้นเท่าไรนัก ความง่ายในการขยายเครือข่ายและการใช้งาน ได้ทำให้อินเตอร์เน็ตเริ่มได้รับความนิยมนอกประเทศสหรัฐอเมริกา จนกลายมาเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงทั่วโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น